เวอร์ชันเต็ม: [-- การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง --]

วัดแก่งกระจาน -> แก่งกระจานเรดิโอ -> การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

watkaeng 26-03-2012 17:28

การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง

ขอเชิญสนับสนุนการเผ่ยแผ่ธรรมะทางอากาศ
โดยส่งกระจายเสียง ในคลื่นแก่งกระจานเรดิโอ ๑๐๓.๗๕ เม๊กกะเฮิร์ท ที่สามารถรับฟังได้ทั่วโลกผ่านเว็บไซต์ วัดแก่งดอทคอม
หรือจะโหลดไปฟังได้ที่นี่...




การให้ธรรมะเป็นทานนั้น ถือว่าให้ทั้งสติปัญญา ให้ความสว่างแห่งจิต ให้หนทางสวรรค์ ทำให้ผู้ได้รับนั้นได้มีโอกาสแห่งการพัฒนาตนเอง จากปุถุชน (คนหนาด้วยกิเลส)ไปเป็นกัลยาณชน (คนดี) และสุดท้ายไปเป็น อริยะชน (คนที่ไกลจากข้าศึกคือกิเลส) ทำให้คนมืดได้รับแสงสว่าง ทำให้คนบอดมีดวงตา เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้....



กินททสูตรที่ ๒
เล่มที่ ๑๕
[๑๓๗] เทวดาทูลถามว่า
บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลัง
ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้วรรณะ
ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้ความสุข
ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้จักษุ
และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์
ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ฯ

[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง
ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ
ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข
ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
และผู้ที่ให้ที่พักพาอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมฤตธรรม ฯ

3) ทานสูตร
เล่มที่ ๒๕
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ
อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้
ธรรมทานเป็นเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ
การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้
การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ
การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม
วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ
รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ
ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า
ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง ๒
ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจดประโยชน์อย่างยิ่งนั้น
ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ
จบสูตรที่ ๙


โดยเฉพาะพระสูตรนี้ได้กล่างถึงธรรมะว่าเหนือกว่าโภคทรัพย์
หรือสิ่งอื่นใด ๆ


1) เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๓๔
... การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชำนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง
โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ คนมีปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้
เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่นเพราะความอยากได้โภคทรัพย์
ฉะนั้น นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ
เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ
ย่อมมีผลมาก
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ
เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะ
ย่อมมีผลมาก
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นโทษ
เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะ
ย่อมมีผลมาก
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา ย่อมมีผลมาก ฯ

watkaeng 26-03-2012 17:43
สามารถสนับสนุนเฉพาะรายการก็ได้มีดังนี้...


รายการ "ธรรมะรับอรุณ" โดย พระอาจารย์ วาริน จกฺกรตโต
เวลา ๐๕.๓๕ - ๐๖.๑๐ น. ทุกวันจันทร์ - ศุกร์
  
รายการ "ธรรมะวาไรตี้" โดย พระอาจารย์วาริน จกฺกรตโน
เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๐.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ - ศุกร์

รายการ "สวดมนต์ยามเที่ยง" เสียงเจริญพุทธมนต์
เวลา ๑๒.๓๐ น - ๑๓.๐๐ น.ตลอดสัปดาห์

รายการ "ธรรมะยามบ่าย" เปิดเสียงอ่านพระไตรปิฎก
เวลา ๑๔.๐๐ น. - ๑๕.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ - ศุกร์

รายการ "พลบค่ำ พบธรรมะ " หลากหลายครูอาจารย์
เวลา ๑๙.๓๐ น. - ๒๐.๐๐ น. ตลอดสัปดาห์

รายการ "ท่องไปในแดนธรรมะ" โดย พระครูอุปถัมภ์วัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดแก่งกระจาน
เวลา ๒๑.๐๐ น.- ๒๒.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ - ศุกร์

รายการ "ธรรมะเพื่อชีวิต"     โดย พระครูอุปถัมภ์วัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดแก่งกระจาน
เวลา ๐๕.๓๐ น. - ๐๗.๐๐ น. ทุกวันเสาร์ อาทิตย์

รายการ "ธรรมะก่อนเที่ยง"   โดย หลากหลายครูอาจารย์
เวลา ๑๑.๓๐ น. - ๑๒.๐๐ น.  ทุกวันเสาร์ อาทิตย์




watkaeng 26-03-2012 17:51
บางส่วนจากกระดานข่าวพันธ์ทิพย์


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
             อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             วิมุตติสูตร
             [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้
จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
             เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตาม
ที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของ
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก
โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรม
เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่
ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์  ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม
เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อม
ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อม
เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓  ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่
ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการ
สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อม
ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้า
ใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้
สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่
ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยาย
ธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง
ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิต
อย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี
แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
             เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์
แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของ
ภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก
โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิต
ของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อม
หลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม
อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
             จบสูตรที่ ๖
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๔๖๑ - ๕๑๔.  หน้าที่  ๒๑ - ๒๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=461&Z=514    
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=26


แนะนำ :-
             อ่านและค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
             อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง
             พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม    
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม  
             สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?    

             หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
             เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
             เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html
             เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
                     เรื่อง
                          ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
                          การใช้ทรัพย์ ๕ ประการ
                          มหาทาน
                          ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑
                          ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒
                          กาลทาน ๕ อย่าง
                          ให้ทานในที่ใดมีผลมาก
                          ทานที่เจาะจงและไม่เจาะจง ๒๑ ประเภท
                          สังฆทาน ๗ ประเภท
                          ถวายภิกษุรูปเดียว ก็เป็นสังฆทาน
                          ทัททัลลวิมาน-แสดงอานิสงส์ของสังฆทาน            
                          เรื่องเศรษฐีเท้าแมว
                          ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน ๔
                          อานิสงส์ของทาน ๕ อย่าง
                          ทานที่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ๖
                          ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ๑
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html


เวอร์ชันเต็ม: [-- การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง --] [-- top --]


Powered by phpwind v8.7 Code ©2003-2011 phpwind
Time 0.016774 second(s),query:2 Gzip enabled